mr.jojo modify


 นายศรีวอน บุญกองรัตน์

นายศรีวอน บุญกองรัตน์

นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งข้าวพวง

LINK BANNER 

LINK ที่น่าสนใจ

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ทต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ศูนย์ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว่

หน่วยงานภายนอก

สำหรับเจ้าหน้าที่

LINK ช่องทางลัด

เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

กรุณาเลือกเมนู 1 - 6

แหล่งเรียนรู้ชุมชน โรงเรียนผู้สูงอายุ

โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ก่อตั้งเมื่อวันที่ : 25 มีนาคม 2558

ที่ตั้ง : หอประชุมเทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ที่มา

ดำเนินการโดย : เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

สนับสนุนโดย : เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวงและ สสส.

ผลลัพธ์ต่อ 13 กลุ่มประชากร

การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

ส่งผลให้ กลุ่มผู้สูงอายุทั่วไปมีสุขภาพจิตที่ดี

มีความยิ้มแย้มแจ่มใสร่าเริง

สร้างความประทับใจให้กับครอบครัวผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไป

ป้ายโรงเรียนผู้สูงอายุ

หลักสูตร

• สุขศึกษา

• พระพุทธศาสนา

• สังคมและวัฒนธรรม

ปัจจัยและเงื่อนไข

- หน่วยงานราชการใกล้เคียง

- ประธานผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้าน

- สมาชิกสภาเทศบาล

- กำนันผู้ใหญ่บ้าน

หลักสูตร

กิจกรรมของเรา

                 

สนับสนุนโดย

• เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

• สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

     

แหล่งเรียนรู้ชุมชน การเลี้ยงหมูหลุม

บ้านห้วยเป้า หมู่ 1 ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

การเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ หมูหลุม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เลี้ยงง่าย กำไรดี รายได้หมุนเวียน

     

การเลี้ยงหมูหลุมเป็นการเลี้ยงสุกรแนวทางธรรมชาติของประเทศเกาหลี

โดยมีอาจารย์โชคชัย สารากิจ จากศูนย์เรียนรู้การพัฒนายั่งยืนภาคเหนือ

ต.ป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เป็นผู้ริเริ่มนำหลักการเลี้ยงสุกรแนวทางธรรมชาติ

เข้ามาในประเทศไทย พ.ศ.2543 มาทำการดัดแปลงวิธีการเลี้ยงให้สอดคล้อง

กับสภาพพื้นที่ประเทศไทย จนมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในภาคเหนือ

     

เลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติดีอย่างไร...มาดูกัน

การเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) เน้นการใช้วัสดุที่มีตามธรรมชาติและในท้องถิ่น

เป็นหลัก หาง่าย ราคาถูก ทำให้ช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงสุกรได้ค่อนข้างมาก

การเลี้ยงหมูหลุมจะไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นของสุกร น้ำเสีย

และช่วยรักษาสถาพแวดล้อม

หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและปฎิชีวนะ

ทำให้ได้เนื้อสุกรที่ปลอดภัยจากสารพิษ ไม่เป็นอันตราย

     

อยากเลี้ยงหมูหลุมต้องมีอะไรบ้าง

1.โรงเรือน

เลือกพื้นที่ ที่น้ำไม่ถ้วมขัง อากาศถ่ายเทสะดวก

ปลูกสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น ใช้โครงไม้ไผ่ มุ่งหลังคาด้วยหญ้าคา

และโรงเรือนควรมีแสงลอดผ่าน 1 ใน 3 ของพื้นที่ตลอดทั้งวันเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค

2.พื้นคอก

1.วัดความยาวจากแนวเสาโรงเรือนซึ่งจะเป็นแนวเดียวกันกับการทำผนังคอก

วัดเข้าไปด้านในทั้งสี่ด้าน ด้านละ 30 เซนติเมตร แล้วทำการขุดลึกลงไป 70-90 เซนติเมตร (ตื้นกว่านี้ก้ได้)

2.แบ่งครึ่งขอบหลุมส่วนที่เหลือทั้งสี่ด้าน และทำการขุดให้ลึกลงไป 30 เซนติเมตร ขุดเป็นรูปตัวแอล (L)

3.ใช้อิฐบล๊อกก่อเป็นรูปตัวแอล (L) ทั้งสี่ด้านหรืออาจใช้ไม้แบบตีแบบและเทคอนกรีต เพื่อทำเป็นเล็บคอนกรีตลงไป

ตามขอบหลุม เพื่อไม่ให้สุกรใช้ปากขุดขอบหลุมพัง

4.เทพื้นคอนกรีตพับตามหลังแนวที่จะทำผนังกั้นคอกให้ครบทุกด้าน

5.ดินที่ขุดออกให้เก็บไว้นำไปผสมกับวัสดุอื่นๆ เพื่อนำกลับใส่ลงไปในหลุมเช่นเดิม

     

3.อาหารสุกร

1.หยวกกล้วยหรือเศษผักต่างๆ

2.ผลไม้ต่างๆ เช่นกล้วย , แตงโม , สัปปะรด

3.เกลือ Effective Microorganisms

4.น้ำตาล

5.สาร อี.เอ็ม. (Effective Microorganisms)

ผสมตามสูตรคลุกเคล้าให้เช้ากัน

4.การเลี้ยงหมูหลุม

• ลูกหมูควรมีน้ำหนัก 15-20 กิโลกรัม

• ในช่วงเดือนแรกให้ใช้อาหารเม็ดหมูอ่อนก่อน หลังจากนั้นเมื่อเป็นหมูรุ่น (น้ำหนัก 30-40 กก.)

ให้เปลี่ยนเป็นอาหารผสมพวกรำปลายข้าว และผสมพืชหมัก เศษผักต่างๆ ในท้องถิ่น

• น้ำดื่นมให้ใช้น้ำหมักสมุนไพร น้ำหมักผลไม้อัตรา 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร

• ใช้น้ำหมักชีวภาพรดพื้นคอกสัปดาห์ละครั้ง เพื่อช่วยลดกลิ่น

หากขี้เลื่อยหรือกลบยุบตัวลงให้เติมเข้าไปใหม่จนเสมอปากหลุม

     

เลี้ยงหมูหลุม     เลี้ยงหมูหลุม

เลี้ยงหมูหลุม     เลี้ยงหมูหลุม

สนับสนุนโดย

• เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

• สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

• สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง

logoเทศบาล       logoสสส       สถาบันวิจัย

แหล่งเรียนรู้ชุมชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมะแตก

บ้านห้วยเป้า หมู่ 1 ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

เป็นพืชสมุนไพรสกัดจากเมล็ดแตก

น้ำมันจากเมล็ดมะแตกสามารถบรรเทาอาการเหน็บชา , ปวดข้อ , ไขข้ออักเสบ ,

ปวดเมื่อยกล้อมเนื้อ , ปวดบวม , เคล็ดขัดยอก , แมลงสัตว์กัดต่อย

กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อตั้งเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

     

สมาชิกชุมชนในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงโครงการหลวงห้วยเป้า

ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ได้พัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเพิ่มแก่ภูมิปัญญาท้องถิ่น

โดยนำน้ำมันมะแตกและพืชสมุนไพรท้องถิ่น

ที่มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก จำนวน 15 ชนิด

เช่นหญ้าเอ็นยืด , พลับพลึง , พญายอ , สะพานก๊น , และไพรเป็นต้น

     

นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ 2 รูปแบบ คือ น้ำมันมะแตก และ ยาหม่องมะแตก

มีการขอจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์น้ำมันมะแตก กรมทรัพย์สินทางปัญญา

และขอขึ้นทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

     

วัตถุดิบสำคัญ

• เคบิด

• พลับพลึง

• เทนทอล

• การบูล

• อ่อมเกี่ยว

• มะแตก

• หญ้าเอ็นยืด

     

ขั้นตอนการผลิต

1.นำมะแตกตากที่ร่ม

2.คัดแยกเปลือกออก

3.ชั่งน้ำหนัก 4.5 กิโลกรัม ได้น้ำมัน 1600 มิลลิลิตร

4.นึ่งในน้ำเดือด 30 นาที

5.ใส่กล่องปิดฝาให้แน่น

6.สกัด (อีด) เอาแต่น้ำโดยการหีบ

7.กรองด้วยผ้าขาวบางและบรรจุขวด

     

ข้อมูลการวิจัย

น้ำมันจากเมล็ดสามารถรักษาโรคเหน็บชา (Vitamin b1 deficiency disease)

โดยใช้ 10-15 หยดทุกวัน นอกจากนี้สามารถบรรเทาอาการข้ออักเสบปวดข้อ

อัมพาตและแผลกดทับ น้ำมันจากเมล็ดมีรสขม ก่อให้เกิดความร้อน

สามารถนำมาใช้กระตุ้นระบบกล้ามเนื้อ ร่วมกับระบบประสาท

ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และความจำให้ดีขึ้น

โดยใช้น้ำมันมะแตกร่วมกับกำยาน กานพลู และดอกจันทร์

     

สนับสนุนโดย

• เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

• สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

• สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง

logoเทศบาล       logoสสส       สถาบันวิจัย

แหล่งเรียนรู้ชุมชน กลุ่มจักสานบ้านปางเบาะ

เครื่องจักสานงานโอทอป สินค้าโอทอป สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ของอำเภอเชียงดาว จจังหวัดเชียงใหม่

     

ผลิตโดย .. หย่อมบ้านปางเบาะ หมู่ 4 บ้านแม่จา

ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

สินค้าได้แก่ ตะกร้า กระเป๋าใส่เอกสาร กล่องใส่กระดาษชำระ ราคาเริ่มต้นที่ 300 บาทขึ้นไป

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ได้รับการยกระดับเป็นสอนค้าโอทอป (OTOP) ในระดับ 4 ดาว

ของอำเภอเชียงดาว ซึ่งสร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นอย่างมาก

     

เนื่องจากหย่อมบ้านปางเบาะเป็นที่ราบสูงสลับภูเขา

การทำเกษตรกรรมตลอดฤดูทำได้เฉพาะที่ราบต่ำ

ส่วนพื้นที่ราบภูเขาจะทำการเกษตรได้เฉพาะฤดูเพาะปลูก

หลังจากเข้าสู่หน้าแล้ง ไม่สามารถทำการเกษตรได้

มีภาษาคือภาษาชนเผ่า ด้วยเหตุผลดังกล่าว

ประกอบกับผู้สูงอายุมีปัญหาในการสื่อสาร จึงไม่กล้าออกนอกพื้นที่

ทำให้เกิดความเครียด และนำไปสู่ภาวะซืมเศร้า

     

ดังนั้นผู้สูงอายุจึงมีความต้องการทำกิจกรรมร่วมกัน

เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชาวบ้านคุ้นเคยอยู่แล้ว เป็นอาชีะเสริมเพื่อใช้เวลาว่างจากการ

ทำไร่ ทำสวนให้เกิดประโยชน์ และเป็นการเพิ่มรายได้ในช่วงที่ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้

อีกทั้งวัตถุดิบในการผลิตก็สามารถหาได้ในพื้นที่

เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวงได้เข้าไปร่วมประชุมประชาคมหมู่บ้าน

ในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลทำให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการ

จึงได้อาสาเข้ามาเป็นพี่เลี้ยง โดยประสานงานหน่วยงานต่างๆเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

สร้างชุมชนมีอาชีพ เกิดรายได้ กลายเป็นชุมชนเข้มแข็ง

           

ข้อมูลไผ่และหวายที่ใช้กับงานจักสาน

• 1.ไผ่บง (rough giant bamboo)

• 2.ไผ่หกหรือไผ่นวลใหญ่ (dendrocalamus hamiltonii)

• 3.หวาย (rattan palm)

           

สนใจผลิตภัณฑ์ ดูสินค้า หรือสอบถามเพิ่มเติม

ติดต่อ คุณคาชิต อะเต๋า (ผู้จัดการ)

โทรศัพท์ 087 -1867131

หรือเทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

โทรศัพท์ 053-045120

     

สนับสนุนโดย

• เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

• สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

logoเทศบาล       logoสสส

แหล่งเรียนรู้ชุมชน กลุ่มหัตถกรรมงานจักสานบ้านแม่จา

ตั้งอยู่ที่อาคารรวมใจบ้านแม่จา (โรงเรียนบ้านแม่จาเดิม) หมู่ 4 ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

สินค้า : ไม้กวาดอ่อน - ไม้กวาดแข็ง - ก๋วยใส่ผัก - เสื่อ - ตะกร้า - ปอกมีด

           

คณะกรรมการกลุ่มหัตถกรรมและงานจักรสานบ้านแม่จา

1.นายบุญส่ง เกษม (ประธาน)

2.นายศรีเพชร จันตนะ (รองประธาน)

3.นางจินดา อาภา (เหรัญญิก)

4.นางเสาร์คำ กันนำ (กรรมการ)

5.นางอิน จันทร์เอ้ย (กรรมการ )

6.นายแดง โสภานะ (กรรมการและเลขา)

           

ไม้กวาดทางมะพร้าว

ไม้กวาดทางมะพร้าว

เป็นไม้กวาดชนิดหนึ่ง ทำจากทางมะพร้าว

มามัดรวมกันบนปลายด้านไม้ไผ่ซึ่งมีลักษณะคล้ายลำทวน

และโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว

ถักและร้อยรัดประกอบกันให้แน่นหนา

           

การทำไม้กวาดดอกหญ้า

ขั้นตอนการทำไม้กวาดดอกหญ้า

1. นำดอกหญ้ามาตากแดดให้แห้ง

2. นำดอกหญ้ามาตีหรือฟาดกับพื้น

3. ใช้เชือกฟางหรือเชือกในล่อนสอยเข้ากับเข็มเย็บกระสอบ

แล้วแทงเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า แล้วถักโดยรอบ ประมาณ 3-4 ชั้น

พร้อมทั้งจัดมัดดอกหญ้าให้แบนราบ ใช้มีดตัดโคนรัดดอกหญ้าที่ตัดแล้วให้เสมอเป็นระเบียบ

4. ใช้ด้ามไม้ไผ่รวกเสียบตรงกลาง แล้วตอกตะปูขนาด 1-2 นิ้ว เพือยึดด้ามกับส่วนดอกหญ้าให้แน่น

5. ใช้น้ำมันยางหรือชันผสมน้ำมันก๊าดทา โดยใช้แปรงจุ่ม และทาบริเวณที่ตัว

                 

สนับสนุนโดย

• เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

• สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

logoเทศบาล       logoสสส

แหล่งเรียนรู้ชุมชน กลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดภัย

แหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรี

บ้านแม่กอน หมู่ 2 ต.ทุ่งข้าวพวง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

คณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดภัยบ้านแม่กอน

นายณฐกร เรือแก้ว ประธาน

นายสมนึก กาวีละ รองประธาน

นายจันตา โพธิ เหรัญญิก

นายอินสม โพธิตา กรรมการ

นายสิงห์ พอก๊ะ กรรมการ

นายเสน่ห์ พอก๊ะ กรรมการ

นายวรนันท์ หนูคำ กรรมการ

นายจิ่งต่า พอก๊ะ กรรมการ

นายเจริญ การะหงส์ กรรมการ

นายเสาร์คำ จิ่งต่า กรรมการ

สนับสนุนโดย

• เทศบาลตำบลทุ่งข้าวพวง

• สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

• สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง

logoเทศบาล       logoสสส       สถาบันวิจัย

*******

UP TO TOP