(ผู้อำนวยการกองคลัง รักษาราชการแทน
ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่
นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งข้าวพวง)
» ความรู้เรื่อง : โรคพิษสุนัขบ้า
» ความรู้เรื่อง : ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
» ความรู้เรื่อง : ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)
» ความรู้เรื่อง : ป้องกัน COVID-19 ด้วยการล้างมือ 7 ขั้นตอน
» ความรู้เรื่อง : การใช้หน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี
» ความรู้เรื่อง : โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
รู้จักโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
ปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) นับเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญ
โดยในปัจจุบันมีประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลกเป็นโรคความดันโลหิตสูง
และมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 พันล้านคน
สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข คาดว่ามีผู้มีภาวะความดันโลหิตสูง
หรือป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่ง 70% ของคนกลุ่มนี้ ไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะดังกล่าว
ทำให้ไม่ได้รับการรักษา หรือการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม อันจะนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย
เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ดังนั้นเราจึงควรหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับตัวเลข ความดันโลหิตของเรา
เพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะ การเจ็บป่วยฉุกเฉิน
ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
1. หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้ รับการรักษาทำให้เกิดหัวใจโต
และหัวใจวายได้ในที่สุด
2. อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบต้นหรือแตก ทำให้เป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต
หรือเสียชีวิตได้ ถ้าเป็นเรื้อรัง อาจทำให้เป็นผู้พิการ
3. เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่พอ เนื่องจากหลอดเลือดไตเสื่อมทำให้ไตวายเรื้อรัง
4. หลอดเลือดแดงในตาเสื่อม อาจมีเลือดออกที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัว หรือ ตาบอดได้
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
1. ลดอาหารเค็ม / มัน เพิ่มผักผลไม้
ค่าการวัดความดันโลหิต
ความดันโลหิตที่เหมาะสมในผู้ใหญ่
ที่อายุมากกว่า 18 ปี คือ ตัวบนไม่เกิน 120 มิลลิเมตรปรอท
ตัวล่างไม่เกิน 80 มิลลิเมตรปรอท เรียกสั้นๆ ว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่
1. โรคความดันโลหิตที่ไม่ทราบสาเหตุ (Primary hypertension)
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า (Essential Hypertension) เป็นความดัน โลหิตสูงที่พบมากที่สุด
กลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบว่าผู้ป่วย 95% เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มนี้
2. โรคความดันโลหิตที่ทราบสาเหตุ Secondary hypertension
เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณ 5% ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
อาการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆเลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ
มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ สัญญาณเตือนโรคความดันโลหิตสูง
1. ปวดศีรษะ ปวดตา ปวดต้นคอ
2. เลือดกำเดาไหล
3. มีนงง
4. ตามัว
5. เหนื่อยง่าย หายใจหอบ
6. หัวใจเต้นเร็ว
7 .เป็นลม
8. หน้ามืด เวียนศีรษะ
9. คลื่นไส้ อาเจียน
10. มือชา มือสั่น ใจสั่น
ข้อมูล : กรมควบคุมโรค